Performance
Agreement
(PA)
Performance
Agreement
(PA)
ข้อมูลส่วนตัว
แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน
Performance Agreement
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้
ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
ประเด็นท้าทาย เรื่อง "การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง โครงงานสื่อสร้างสรรค์ ด้วย Generative AI
และการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ รายวิชาสร้างสื่อเทคโนโลยี ม.4 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย"
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะรอบด้าน นอกจากวิชาหลักแล้ว ยังต้องสามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ
อย่าง Generative AI เพื่อสร้างสรรค์และแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม พบว่า ผู้เรียนในรายวิชาสร้างสื่อเทคโนโลยี ร้อยละ 80 ยังขาดทักษะการใช้งาน Generative AI อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานจะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด วิเคราะห์ ได้ทำงานเป็นกลุ่ม และสามารถใช้ Generative AI ในการผลิตสื่อ ครูจึงกำหนดแนวทางพัฒนาการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้วยโครงงานสื่อสร้างสรรค์ในรายวิชาสร้างสื่อเทคโนโลยี ม.4 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สาระที่ 4 เทคโนโลยี) หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อจัดทำหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ โดยปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับ เทคนิคการสอนแบบ การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สํารวจความพร้อม ความสามารถในการเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีรวมถึงรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียน
2.2 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียนรู้รายวิชา การสร้างสื่อเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง โครงงานสื่อสร้างสรรค์
กําหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียนหลังจากได้เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง โครงงานสื่อสร้างสรรค์
2.3 กำหนดโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โครงงานสื่อสร้างสรรค์ รายวิชา การสร้างสื่อเทคโนโลยี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยบทเรียนออนไลน์ จำนวน 2 แผน รวม 6 คาบเรียน โดยแบ่งกิจกรรมตามเนื้อหาที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้เป็นกิจกรรมย่อย
2.4 สร้างนวัตกรรม กําหนดและจัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ซึ่งประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียนรู้ในรูปแบบเว็บไซต์ออนไลน์ และคลิปวิดีโอ
2.5 จัดทำเอกสารประกอบการเรียนรู้ในรูปแบบเว็บไซต์ออนไลน์ และคลิปวิดีโอ เรื่อง Vlog โดยจัดทำให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยจัดเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยากตามลำดับ
2.6 จัดทำสื่อการเรียนรู้โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของแนวคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน
2.7 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับ Generative AI เรื่อง โครงงานสื่อสร้างสรรค์ ในรายวิชาสร้างสื่อเทคโนโลยี
2.8 ทดสอบหลังเรียน บันทึกคะแนนผลการเรียนรู้และสรุปเป็นสารสนเทศของผู้เรียน
2.9 ทำแบบประเมินความพึงพอใจ รูปแบบการจัดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้
3. ผลลัพธ์การพัฒนา
3.1 เชิงปริมาณ
ผู้เรียนร้อยละ 80 ได้รับการพัฒนาการสร้างสื่อเทคโนโลยี และมีทักษะในการสร้างสื่อเทคโนโลยี
ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการสอนใน ระดับมาก ขึ้นไป
ผู้เรียนร้อยละ 90 มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป
3.2 เชิงคุณภาพ
ผู้เรียนมีทักษะการสร้างสื่อเทคโนโลยีจากแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ในระดับดี ขึ้นไป
ผู้เรียนสามารถสร้างผลงานสื่อเทคโนโลยีที่มีคุณภาพในระดับดี ขึ้นไป
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน